Thai/English
การเลือกโหมดการคนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ถูกต้องจะช่วยทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และ ส่งสินค้าทันต่อการใช้งานได้ถูกอต้องเรามาดูกันว่าเราจะตัดสินใจในการโหมดการขนส่งสินค้าอย่างไรได้ถูกต้อง.....
การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการนำเข้าส่งออกสินค้าและบริการทั่วโลก มีวิธีการขนส่งหลายแบบที่สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการของธุรกิจ รวมถึงข้อจำกัดทางด้านเวลาและงบประมาณ
หลัก ๆ แล้วการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสามารถแบ่งออกเป็นสามประเภทหลัก ๆ ได้แก่ การส่งพัสดุ,
การขนส่งทางเรือ และการขนส่งทางอากาศ
1.
การขนส่งผ่านพัสดุ (Courier Services)
การขนส่งประเภทนี้เหมาะสำหรับสินค้าขนาดเล็กหรือน้ำหนักเบา เช่น เอกสาร สินค้าตัวอย่าง
หรือสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป โดยบริษัทผู้ให้บริการขนส่งพัสดุจะสามารถจัดส่งได้อย่างรวดเร็วถึงที่หมายภายในไม่กี่วัน แต่ค่าบริการอาจสูงกว่าเมื่อเทียบกับการขนส่งประเภทอื่น
การขนส่งผ่านพัสดุเหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการจัดส่งหรือมีมูลค่าสูง
การจัดส่งสินค้าพัสดุจะมีการเปรียบเทียบน้ำหนักจริงและน้ำหนักที่ได้จากการคำนวนจากปริมาตรเสมอ ทางผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุและสายการบินจะคำนวนราคาจากส่วนที่มากที่สุดเสมอ
การคำนวณสามาถทำได้โดยการนำ กว้างxยาวxสูง (ซม) และ หาร 5000 จะได้น้ำหนักเชิงปริมาตร
เช่นสินค้าของท่านหนัก 10 กก. หากแต่ขนาดของกล่องมีขนาด 30x50x45 ซม.
คำนวนได้ 30x50x45 = 67,500 หาร 5000 = 13.5 กก.
จากการคำนวณน้ำหนัก 13.5 กก เทียบกับ 10 กก. ตามน้ำหนักจริง หากแต่บริษัทผู้ให้บริการและสายการบินจะยึดน้ำหนัดที่ 13.5 กก. ในการคิดค่าใช้จ่าย
2.
การขนส่งทางอากาศ (Air Freight)
การขนส่งทางอากาศเป็นทางเลือกที่รวดเร็วที่สุด ใช้เวลาเพียงไม่กี่วันในการขนส่ง
เหมาะสำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักเบา มูลค่าสูง หรือสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการจัดส่ง อย่างไรก็ตาม ค่าบริการขนส่งทางอากาศมักจะสูงกว่าการขนส่งทางอื่น ๆ การขนส่งทางอากาศเหมาะกับสินค้าที่มีมูลค่าสูง
เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าแฟชั่น เป็นต้น
การจัดส่งสินค้าทางอากาศจะมีการเปรียบเทียบน้ำหนักจริงและน้ำหนักที่ได้จากการคำนวนจากปริมาตร
ทางผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุและสายการบินจะคำนวนราคาจากส่วนที่มากที่สุดการคำนวนคล้ายการส่งพัสดุหากแต่มีความแตกต่างเล็กน้อย
การคำนวณสามาถทำได้โดยการนำ กว้างxยาวxสูง (ซม) และ หาร 6000 จะได้น้ำหนักเชิงปริมาตร
เช่นสินค้าของท่านหนัก 10 กก. หากแต่ขนาดของกล่องมีขนาด 30x50x45 ซม.
คำนวนได้ 30x50x45 = 67,500 หาร 5000 = 11.25 กก.
จากการคำนวณน้ำหนัก 11.25 กก เทียบกับ 10 กก. ตามน้ำหนักจริง
หากแต่บริษัทผู้ให้บริการและสายการบินจะยึดน้ำหนัดที่ 11.25 กก.
ในการคิดค่าใช้จ่าย
3.
การขนส่งทางเรือ (Sea Freight)
การขนส่งทางเรือเหมาะสำหรับสินค้าขนาดใหญ่หรือปริมาณมาก เช่น วัตถุดิบ เครื่องจักร
หรือสินค้าโภคภัณฑ์ ใช้เวลาในการขนส่งนานกว่า แต่ต้นทุนต่ำกว่าการขนส่งทางอากาศ เหมาะสำหรับสินค้าที่ไม่ต้องการการจัดส่งที่รวดเร็วหรือสินค้าที่มีขนาดใหญ่ การขนส่งประเภทนี้ยังมีหลายรูปแบบเช่น
การขนส่งเต็มตู้คอนเทนเนอร์ (Full Container Load - FCL) และการขนส่งรวมตู้คอนเทนเนอร์ (Less than Container Load - LCL)
การคำนวณปริมาตรของเรือจะคิดค่าเป็น CBM มีการคำนวนดังนี้
การคำนวณสามาถทำได้โดยการนำ กว้างxยาวxสูง (ซม) และ หาร 1 ล้านจะได้น้ำหนักเชิงปริมาตร
เช่นหากท่านมีสินค้า 15 ลัง ๆ ละ 25 กก. ขนาดลังอยู่ที่ 30x50x45 ซม.
คำนวนได้ 30x50x45 = 67,500 หาร 1 ล้าน = 0.0675 CMB ต่อกล่อง
0.0675 CMB ต่อกล่อง x 15
กล่อง = รวมทั้งหมดเป็น 1.0125 CMB
น้ำหนักรวม 25x15 = 375 กก.
เวลาแจ้งทางขนส่งเราต้องแจ้งทั้ง CBM และ น้ำหนักเสมอ
วิธีการเลือกวิธีการขนส่งที่เหมาะสม
การเลือกวิธีการขนส่งที่เหมาะสมควรพิจารณาตามประเภทของสินค้า งบประมาณ
และระยะเวลาที่ต้องการ โดยถ้าสินค้ามีขนาดใหญ่หรือจำนวนมาก อาจเหมาะกับการขนส่งทางเรือ ในขณะที่สินค้าที่ต้องการความรวดเร็วควรเลือกใช้ขนส่งทางอากาศ หรือ ส่งผ่านพัสดุ
สินค้าที่มีปริมาณไม่มากหรือน้อยเกินไปบางครั้งส่งทางอากาศหรือเรืออาจมีค่าใช้จ่ายที่ต่างกันไม่มาก ทั้งนี้เราต้องคำนึงถึงการขนส่งในประเทศด้วยเพื่อช่วยคำนวนค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม เช่น สินค้าปริมาณ 200
กก. หากส่งทางเรือจากไทยไปอินเดีย แต่ส่งปลายทางที่เมืองนิวเดลี ซึ่งเมืองนิวเดลีไม่ใช่เมืองที่ติดทะเล ทำให้การขนส่งถึงปลายทางทำได้ดังนี้คือ
1. ส่งจากไทยไปท่าเรือมุมไบ และ จากมุมไบต้องส่งทางรถยนต์/รถไฟ ไปนิวเดลี
2. หาตู้ที่ส่งไปยังนิวเดลีอยู่แล้ว และ ฝากส่งในตู้เดียวกัน และ ไปเคลียร์ของที่เดลี ที่ท่าเรือแห้ง (Dry port) เป็นทางทางบกใช้ในการเคลียร์สินค้าที่มาเป็นตู้คอนเทเนอร์
3. ส่งทางเครืองบินจากไทยไปลงนิวเดลีและเคลียร์ของที่สนามบิน
เนื่องจากปริมาณไม่มากนัก ค่าขนส่งทางเรืออาจพอ ๆ กัน หรือ แพงกว่าค่าขนส่งทางเครื่องบินด้วยซ้ำเพราะขั้นตอนต่าง ๆ กว่าสินค้าจากทางเรือจะถึงนิวเดลี จะมีค่าใช้จ่ายในแต่ละขั้นตอนรวม ๆ กันก็ไม่น้อย
ในกรณีนี้เราจะแนะนำทางเครื่องบินด้วยราคาค่าส่งสินค้า และ อีกทั้งเวลาที่ใช้น้อยกว่าเรือมาก
เราอยากให้ข้อมูลเพิ่มเติมหลายท่านมักเข้าใจว่าสินค้าที่ส่งทางเรือจะต้องถูกกว่าทางเครื่องบินเสมอ หากแต่สินค้าส่งทางเรือมีค่าใช้จ่ายยิบย่อยมากมายทั้งเอกสาร ด่านที่ท่าเรือ
ค่าทำความสะอาดตู้คอนเทนเนอร์ และ อื่น ๆ หากสินค้ามีปริมาณไม่มาก หากบวกค่าใช้จ่ายทั้งหมดนี้เข้าไปจะทำให้แพงกว่าการส่งทางอากาศอย่างเห็นได้ชัด
ท้ายนี้หากเราเลือกการขนส่งได้อย่างเหมาะสมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการโลจิสติกส์ ประหยัดเวลาและลดต้นทุนได้อย่างมาก ทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอขอบคุณ
www.thaiindia.biz
บริษัท เอส.ซี.ไอ.ซี. (ไทยแลนด์) จำกัด
บริษัท เอส.ซี.ไอ.ซี เทรดเด็กซ์ อินเดีย จำกัด
International shipping is an essential part of the import-export process, facilitating the global trade of goods and services. Businesses can choose from several shipping methods based on their specific needs, time constraints, and budget. Primarily, international shipping can be divided into three main types: courier services, air freight, and sea freight.
1.
Courier Services
Courier services are ideal for small or lightweight shipments, such as documents, samples, or general consumer goods. These companies provide quick delivery, often within just a few days, though
the cost is usually higher compared to other methods. This method is best suited for items that require fast delivery or are high in value.
When shipping via courier, both the actual weight and the volumetric weight (based on package dimensions) are
compared. Carriers and airlines charge based on the higher of these two values.
The volumetric weight can be calculated by multiplying the dimensions (width x length x height in cm) and dividing by 5000.
For example, if your package weighs 10 kg but its dimensions are 30x50x45 cm, the calculation would be 30x50x45 = 67,500 / 5000 = 13.5 kg.
In this case, the company would use 13.5 kg (volumetric weight) to determine the charge, as it is higher than the actual weight.
2.
Air Freight
Air freight is the fastest option, typically taking only a few days. It is suitable for lightweight, high-value items or products requiring urgent delivery. However, air freight costs are usually
higher than other shipping methods. It is ideal for valuable goods like electronics or fashion items. Similar to courier services, air freight uses the higher value of actual or volumetric
weight, though the volumetric calculation uses a divisor of 6000.
To calculate the volumetric weight, multiply the dimensions (width x length x height in cm) and divide by 6000.
For Example, if your item weighs 10 kg and the box dimensions are 30x50x45 cm, the calculation would be 30x50x45 = 67,500 / 6000 =
11.25 kg.
The chargeable weight here would be 11.25 kg, as it is greater than the actual weight.
3.
Sea Freight
Sea freight is ideal for large or heavy shipments, like raw materials, machinery, or bulk goods. It takes longer but is more cost-effective than air freight, making it suitable for items that do
not require immediate delivery. Within sea freight, there are options like Full Container Load (FCL) and Less than Container Load (LCL). The volume is typically calculated in cubic meters
(CBM).
To calculate CBM, multiply the dimensions (width x length x height in cm) and divide by 1,000,000.
For example, if you have 15 boxes, each weighing 25 kg with dimensions of 30x50x45 cm, the calculation is 30x50x45 = 67,500 / 1,000,000 = 0.0675 CBM per box.
With 15 boxes, the total CBM would be 0.0675 x 15 = 1.0125 CBM.
Weight = 25 kg x 15 boxes = 375 kg
When we inform shipping company or forwarder we always have to inform CBM & Weight.
Choosing the Right Shipping Method
Selecting an appropriate shipping method depends on the type of goods, budget, and delivery timeframe. Large or high-volume shipments may be best suited for sea freight, while time-sensitive
products are better suited to air freight or courier services.
For small shipment air freight may sometimes be comparable to sea freight in terms of cost. For example, shipping from Thailand to India may include additional domestic transportation if the final destination is a landlocked city like New Delhi. Options may include:
1. Shipping by sea to Mumbai, then by truck or rail to New Delhi.
2. Ship via container with company who is having container going to New Delhi and do customs clearance at Delhi Dry port.
3. Air shipping directly to New Delhi, clearing customs at the airport.
In cases where the shipment is relatively small, the cumulative costs for sea freight (including documentation, port fees, container cleaning, etc.) can sometimes make it more expensive than air freight, especially if additional inland transportation is needed. In small shipment, it’s a misconception that sea freight is always cheaper; depending on volume and logistics, air freight can sometimes be the more cost-effective and time-efficient option.
In conclusion, choosing the right shipping method optimizes logistics management, saves time, and reduces
costs, enabling businesses to compete more effectively on the global market.
Thank You,
www.thaiindia.biz
SCIC (Thailand) Co., Ltd.
SCIC Tradex India Pvt Ltd